หมอเผย นอนน้อยนานเแค่ไหน สมองถึงจะเสื่อมแนะดูสัญญาณเตือน พร้อมวิธีป้องกัน

หมอเผย นอนน้อยนานเแค่ไหน สมองถึงจะเสื่อมแนะดูสัญญาณเตือน พร้อมวิธีป้องกัน

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ด้าน ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท ได้เผยแพร่ข้อมูลน่าสนใจผ่านเฟซบุ๊ก สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์

นอนน้อยมานานเท่าไหร่ สมองถึงจะเริ่มเสื่อม?

เป็นคำถามที่หลายคนสงสัย ยุคที่คนทำงานหนัก พักผ่อนน้อย แต่คำตอบไม่ง่าย เพราะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ พันธุกรรม พฤติกรรมอื่น ๆ (เช่นอาหาร ความเครียด การออกกำลังกาย) อจ. มี คำตอบสั้นๆ

-นอนน้อยต่อเนื่อง 4-6 ชั่วโมง/คืน นานเกิน 1-2 สัปดาห์ อาจส่งผลให้ความจำแย่ลง สมาธิลดลง และการประมวลผลข้อมูลช้าลง (ยังไม่เรียกว่าสมองเสื่อม แต่สมองทำงานด้อยลง)

-นอนน้อยเรื้อรังเป็นเดือนหรือปี เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม โดยเฉพาะ อัลไซเมอร์

-งานวิจัยพบว่า การนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง/คืน ในช่วงอายุ 50-70 ปี ติดต่อกันหลายปี เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมในระยะยาวได้ถึง 30-50%

นั่นคือ อายุน้อย อาจต้องใช้เวลานอนน้อยนานๆ แต่อายุมาก นอนน้อย จะเสี่ยงมาก

หลักฐาน

1.Nature Communications, 2021 (UK Biobank study) ศึกษาคน 8,000 คน อายุ 50-70 ปี พบว่า คนที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง/คืน ต่อเนื่องหลายปี มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 30%

2.Harvard Medical School การนอนช่วย ล้างพิษ ในสมอง โดยเฉพาะสาร beta-amyloid ที่สะสมในคนเป็นอัลไซเมอร์ ถ้านอนไม่พอ ระบบนี้จะทำงานลดลง สมองสะสมของเสีย เสี่ยงเสื่อม

3.การทดลองในมนุษย์ (Sleep restriction studies) คนที่นอนวันละ 4-5 ชั่วโมง นาน 2 สัปดาห์ ความสามารถทางสมอง (ความจำ สติปัญญา ความเร็วคิด) ลดลงเทียบเท่าคนเมาแอลกอฮอล์ ร่างกายฟื้นไม่เต็มที่แม้นอนชดเชยภายหลัง

มาดูสัญญาณเตือนสมองเริ่มเสื่อมจากการนอนน้อย

-ลืมเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น

-สมาธิสั้น ทำงานผิดพลาด

-หงุดหงิดง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้

-สับสนกับเวลา/สถานที่

-พูดซ้ำ ๆ หรือลืมคำที่คุ้นเคย

คำแนะนำเพื่อป้องกันสมองเสื่อมจากการนอนน้อย

-นอนวันละ 7-8 ชั่วโมง อย่างสม่ำเสมอ

-เข้านอน-ตื่นนอนเวลาเดิมทุกวัน (แม้วันหยุด)

-หลีกเลี่ยงคาเฟอีน/จอมือถือก่อนนอน

-ออกกำลังกายตอนเช้าหรือตอนบ่าย

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ