เลี่ยงมะเร็งไม่รู้ตัว! 3 วิธีใช้ขวดพลาสติกแบบผิดๆ หลายคนประหยัดต้องเสียใจภายหลัง

เลี่ยงมะเร็งไม่รู้ตัว! 3 วิธีใช้ขวดพลาสติกแบบผิดๆ หลายคนประหยัดต้องเสียใจภายหลัง

จากเว็บไซต์ ได้เผยว่า ขวดพลาสติกที่ดื่มหมดแล้วมักถูกนำมาใช้ซ้ำในบ้าน ไม่ว่าจะเก็บของเหลวหรือสิ่งของอื่น ๆ ซึ่งพบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำแร่ น้ำอัดลม นมถั่วเหลือง หรือชาไข่มุก เนื่องจากหลายคนมีนิสัยประหยัดและต้องการลดขยะพลาสติก จึงมักนำขวดเหล่านี้กลับมาใช้ซ้ำ แม้การรีไซเคิลจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ผลที่ตามมาอาจร้ายแรงถึงขั้นนำเชื้อโรค และสารก่อมะเร็งเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ

1.ใช้ขวดพลาสติกชนิด PET เป็นเวลานานเกินไป

ขวดพลาสติก PET ที่ใช้บรรจุน้ำอัดลม หรือน้ำมันพืช มีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี และสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ในระยะสั้นเท่านั้น แต่หากใช้ซ้ำเกิน 10 เดือน ขวดเหล่านี้อาจปล่อยสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2B ตามการจัดประเภทขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งก็คือสาร Diethylhexyl Phthalate (DEHP) สารให้ความยืดหยุ่นที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก

สารนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ มะเร็งหัวใจ มะเร็งปอด มะเร็งไต รวมถึงรบกวนระบบต่อมไร้ท่อและทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ

สาร DEHP พบได้ที่ไหนบ้าง? อย่างที่กล่าวไปแล้ว DEHP คือสารเคมีที่ใช้เพิ่มความยืดหยุ่นในอุตสาหกรรมพลาสติก โดยเราสามารถพบสารกลุ่มพทาเลต (Phthalates) ได้ทั่วไปในผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความนิ่มหรือยืดหยุ่น เช่น ขวดพลาสติก แผ่นฟิล์มห่ออาหาร ม่านพลาสติก บานประตูพลาสติก ยาทาเล็บ จุกนมปลอม ของเล่นเด็ก และบรรจุภัณฑ์อาหารพลาสติกหลายประเภท

2.ใช้ขวดพลาสติกใส่ของสารพัดในครัว คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมขวดใส่น้ำมันพืชหรือขวดใส่น้ำส้มสายชูถึงต่างจากขวดน้ำอัดลมหรือน้ำจิ้ม? ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะตามร้านอาหาร มักเห็นการนำขวดน้ำดื่มพลาสติกกลับมาใช้ใส่น้ำส้มสายชู น้ำมันพืช หรือน้ำซีอิ๊วอยู่บ่อยครั้ง

แต่ในความเป็นจริง ขวดแต่ละประเภทถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับของที่บรรจุโดยเฉพาะ ผู้ผลิตจะปรับสูตรพลาสติกให้เหมาะกับการใช้งาน เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากที่สุด หากนำขวดที่ไม่ได้ออกแบบมาใส่สารเหล่านี้ อาจทำให้สารเคมีในพลาสติกละลายปนเปื้อนลงในอาหารได้โดยไม่รู้ตัว

3.ใช้ขวดพลาสติก PET ใส่น้ำร้อน หลายคนอาจคิดว่าการล้างขวดด้วยน้ำร้อนก่อนใช้งานจะช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ แต่ความจริงคือ ขวดพลาสติก PET ไม่ทนความร้อน หากเจอน้ำที่มีอุณหภูมิเกิน 70 องศาเซลเซียส ขวดอาจอ่อนตัวหรือเปลี่ยนรูปได้ง่าย และที่น่ากังวลยิ่งกว่าคือ อาจปล่อยสารพิษออกมาเร็วขึ้นโดยไม่รู้ตัว

หากยังฝืนใช้อย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวโดยไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ นอกจากนี้ หลายคนมักมีนิสัยวางขวดเครื่องปรุงไว้ใกล้เตาเพื่อหยิบใช้สะดวก แต่พฤติกรรมนี้ก็แฝงความเสี่ยงเช่นกัน เพราะเมื่อขวดพลาสติกสัมผัสความร้อนจากเตาเป็นเวลานาน จะยิ่งเร่งให้สารเคมีอันตรายภายในขวดละลายหรือกระจายตัวออกมาได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจปนเปื้อนลงในอาหารโดยไม่รู้ตัว

 

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ