อันตรายจากการติดเหา พร้อมเผยวิธีกำจัด ที่ถูกต้องและได้ผล

อันตรายจากการติดเหา พร้อมเผยวิธีกำจัด ที่ถูกต้องและได้ผล

เหาคือ เกิดจากการติดตัวเหา ซึ่งเป็นแมลง ชื่อ Pediculus humanus capitis ลักษณะรูปร่างตัวเรียวยาว ขนาด 3-4 มม. มีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว จึงทำให้ติดโรคกันง่ายตัวแมลงจะวางไข่บนเส้นขนและหลั่งสารหุ้มปลายด้านหนึ่งของไข่ให้เกาะแน่นติดอยู่ ไข่เหามีขนาดยาว 0.5 มม. มองเห็นด้วยตาเปล่า

เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสโดยตรง สัมผัสเสื้อผ้า ผ้าปู ที่นอน หมวก ที่แต่งผมและหวี เป็นต้น พบบ่อยในเด็กวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง

อันตรายจากการติดเหา

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้จากการติดเชื้อเหา ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ตุ่มหนองที่บริเวณศีรษะ

วิธีรักษาอาการติดเหา

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การตรวจรักษาถ้าพบไข่หรือตัวเหาที่บริเวณเส้นผม อาจมองเห็นด้วยตาเปล่าหรือใช้กล้องจุลทรรศน์ โดยไข่ใหม่ที่ยังไม่ฟักเป็นตัวจะมีสีน้ำตาล แต่ถ้าฟักเป็นตัวแล้วไข่จะมีสีขาวใส ซึ่งการตรวจพบตัวเหาที่เส้นผมเป็นการยืนยันว่ายังมีการติดเชื้ออยู่

1.ใช้หวีเสนียดหวีเอาตัวเหา และไข่เหาออก

2.โกนผมบริเวณดังกล่าวออก อาจพิจารณาใช้ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อรุนแรง และดื้อต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ

3.ทำความสะอาดเสื้อผ้า หมวก ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน และปลอกหมอน โดยซักด้วยน้ำร้อนและใช้ความร้อนทำให้แห้ง ส่วนหวีให้ล้างในน้ำร้อนอุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส หรือเคลือบด้วยยาฆ่าเหานาน 15 นาที

4.ใช้ยาฆ่าเหาเป็นการรักษาหลัก ยาฆ่าเหาชนิดทาวิธีใช้คือทายาลงบนผมที่แห้ง 2 ครั้ง ในระยะเวลาห่างกัน 1 สัปดาห์ ในส่วนยาฆ่าเหาชนิดกินให้ประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีแต่ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กน้ำหนักตัวน้อยกว่า 15 กิโลกรัม หญิงให้นมบุตรและหญิงตั้งครรภ์

ข้อมูลจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ