ไข้หวัดใหญ่อันตรายกว่าที่คิด อาจเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนได้ หากไม่ไปหาหมอ

ไข้หวัดใหญ่อันตรายกว่าที่คิด อาจเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนได้ หากไม่ไปหาหมอ

เรียกได้ว่า ช่วงนี้ไข้หวัดใหญ่กำลังระบาดหนักมาก ในหมู่เด็กเล็กและเด็กโต ร่วมไปถึงผู้ใหญ่ก็อาจจะติดได้ แต่อาการอาจจะไม่รุนแรงเท่าเด็กเล็ก และช่วงนี้ก็เป็นหน้าฝนร่วมไปถึงน้ำท่วมในบางจังหวัด อยากให้ผู้ปกครองหลายๆท่าน ดูแลเด็กๆและลูกหลานให้ปลอดภัยจากโรคต่างๆที่กำลังมาอย่างหนัก

นพ.ตุลย์ สุนาถวนิชย์กุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์ รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ ระบุว่า ไข้หวัดใหญ่ ดูเผินๆ แล้ว เหมือนจะมีอาการที่มากกว่าไข้หวัดทั่วๆ ไปเพียงเล็กน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไข้หวัดใหญ่สามารถทำให้เกิดอาการรุนแรง เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือทำให้ผู้ป่วยบางรายเสียชีวิตได้ ดังนั้นไข้หวัดใหญ่จึงไม่ใช่แค่อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ทุกคนจะรอให้หายเองได้ หากแต่ผู้ป่วยต้องสังเกตอาการของตนเองและควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องอย่างเร็วที่สุด เพื่อหยุดยั้งความรุนแรงของโรค และลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ทำให้เกิดอาการรุนแรง ภาวะแทรกซ้อน หรือเสียชีวิตได้ บุคคลที่ต้องระวังอย่างมาก คือ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ แม่หลังคลอด 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม และผู้พิการทางสมอง กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ก็มีโอกาสเป็นไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า และมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยที่มีโรคปอดหรือถุงลมโป่งพองจะเสี่ยงเพิ่มขึ้น 100 เท่าเทียบกับคนปกติ ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจเสี่ยงเพิ่มขึ้น 50 เท่า และผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงเพิ่มขึ้น 5-10 เท่า

7 กลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่ กลุ่มที่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและอันตรายที่สูงกว่าคนทั่วไป เรียกว่า กลุ่มเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วย

-เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ

-ผู้สูงอายุ มากกว่า 65 ปีขึ้นไป

-หญิงตั้งครรภ์ รวมถึงคุณแม่หลังคลอด 2 สัปดาห์

-ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคตับเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง ฯลฯ

-ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ที่ได้รับยากดภูมิหรือยาเคมีบำบัด

-ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม

-ผู้มีความพิการทางสมอง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่

โดยภาวะแทรกซ้อนทั่วๆ ไปของโรคไข้หวัดใหญ่ ที่พบได้บ่อย ได้แก่ หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ส่วนภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่พบได้มาก ได้แก่ โรคปอดอักเสบหรือปอดบวม ซึ่งโรคนี้จะยิ่งทวีความรุนแรงและเสี่ยงเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคปอดหรือถุงลมโป่งพองอยู่แล้ว จะเสี่ยงเพิ่มขึ้น 100 เท่าเมื่อเทียบกับคนปกติ สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ จะเสี่ยงเพิ่มขึ้น 50 เท่า และเสี่ยงเพิ่มขึ้น 5-10 เท่าในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากคนที่มีโรคประจำตัว มักมีภูมิคุ้มกันแปรปรวนทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีเท่ากับคนปกติ ส่วนในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ก็มีโอกาสเกิดไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า ซึ่งมักมีอาการรุนแรง และสามารถส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้ เช่น การคลอดก่อนกำหนด การแท้ง รวมทั้งอาจรุนแรงจนเสียชีวิตทั้งแม่และลูกได้ ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ้าง ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปลายประสาทอักเสบ และสมองอักเสบ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ผู้ป่วยทุกคนไม่เฉพาะแต่ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา อย่ารอให้อาการหนัก เพราะยิ่งรอก็ยิ่งทำให้เสี่ยงกับภาวะแทรกซ้อนที่มากขึ้นทุกวินาที

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ